Site icon ZAZIO

ประเภทของ “งานสกรีนเสื้อ” มีกี่ประเภท?

เนื่องจากงานสกรีน และงานพิมพ์เสื้อมีหลากหลายเทคนิค ในการพิมพ์ รวมถึงชนิดของสี ที่ทำให้เกิดเกิดลักษณะพิเศษเฉพาะของสีนั้นๆ เพื่อให้ได้งานที่มีคุณภาพ และเหมาะสมกับเนื้อผ้าทั้งจำนวนต้นทุนและราคา เราจะแบ่งประเภทงานสกรีนเสื้อเป็น 3 ประเภทหลักๆ ซึ่งมีความแตกต่างกันในด้านของลักษณะการสกรีน ดังนี้

1.ระบบซิลค์สกรีน (Silk Screen)

Intro:: เป็นการสกรีนที่เหมาะกับ งานจำนวนมาก / ลายง่าย / สีน้อย / สกรีนบนเสื้อได้ทุกสี

เป็นระบบการสกรีนเสื้อโดยการทาลวดลายลงบนบล็อกที่ใช้สกรีนแล้วจึงนาสีมาพิมพ์ลวดลายลงบนเสื้ออีกที โดยต้องใช้บล็อคสกรีน 1 สี ต่อ 1 บล็อค ถ้า 4 สี ก็ต้องใช้ 4 บล็อค หลักการสกรีน ก็คือ ทำให้บล็อกสกรีนมีลวดลาย แล้วนำสีมาพิมพ์ผ่านลวดลายลงบนเสื้อ ก็จะได้เสื้อ หลักการนี้ถูกเอามาใช้หลายกระบวนการทั้งพิมพ์สิ่งพิมพ์ต่างๆ ซึ่งระบบซิลค์สกรีน (Silk Screen) เหมาะสำหรับ งานสายผลิต จำพวกขายส่ง ที่ต้องการจำนวนและต้องการประหยัดต้นทุน และงานที่ต้องการเทคนิคพิเศษต่างๆ เช่น งานสกรีน ฮาฟโทน (Halftone) , Cmyk , Puff (สีนูน) , Glitter (กากเพชร) และลักษณะงานอื่นๆ งานสกรีนจึงเหมาะสมที่สุดสำหรับ สกรีนเสื้อ ทั้งเสื้อสีเข้ม หรือเสื้อสีอ่อน

1.1 สกรีนสีน้ำ

สีน้ำจะเหมาะกับการลงผ้าขาวหรือผ้าสีอ่อน เนื่องจากสีน้ำจะซึมเข้าไปรวมกับสีเดิมของผ้าทำให้งานสกรีนนุ่มและสบายมือ ระบายความร้อนได้ดี เนี่องจากสีน้ำจะซึมเข้าไปรวมกับสีเดิมของผ้า เป็นสีเคมีที่ผลิตขึ้นมาโดยมีน้ำเป็นตัวทำละลาย ทำให้สามารถใช้งานได้สะดวกสีแห้งตัวได้เองที่อุณหภูมิห้อง ถ้าสีที่ผสมเสร็จแล้วเกิดการแห้งตัว สามารถใช้น้ำผสมเพื่อทำให้เหลวลงได้ สีประเภทนี้ไม่มีกลิ่นเหม็น เหมาะที่จะพิมพ์ลงบน ผ้าคอตต้อน100%( C20,C32,TC),ผ้าโพลีเอสเตอร์100%(TK,TTK,MICRO)เป็นต้น

1.2. สกรีน Plastisol

สกรีน Plastisol สีพลาสติซอลจะเหมาะกับการลงผ้าทุกสี ทั้งสีอ่อนและสีเข้ม สีพลาสติซอลจะมีเนื้อสีที่ทำให้งานสกรีนดูมีราคา เนื่องจากมีคุณสมบัติในการยึดเกาะบนพื้นผิววัสดุที่ดีและมีความเงางามสดใสของเนื้อสี เมื่อนำไปสกรีนลงบนเสื้อหรือผ้าผิวสัมผัสจะมีชั้นความหนาของลวดลายเคลือบอยู่บนเนื้อผ้าเช่นเดียวกับสียาง

1.3.สกรีนสีน้ำมัน

สีน้ำมันเป็นสีที่มีโครงสร้างของน้ำมันเป็นหลัก มีกลิ่นค่อนข้างแรง หมึกจะแห้งตัวได้ที่อุณหภูมิห้อง เวลาหมึกแห้งตัวแล้ว จะต้องใช้น้ำมันผสมเท่านั้น และถ้าต้องการจะล้างสี จะต้องใช้น้ำมันล้างเช่นกัน เหมาะกับงานพิมพ์สกรีนบนผ้าที่ติดยากได้แทบทุกชนิด เช่น ผ้ากระเป๋า ผ้าใบ ผ้าร่ม ผ้าไนล่อน

1.4. สกรีนแบบสีนูน

การสกรีนนูนจะให้ลักษณะพื้นผิวที่หนาและสัมผัสได้ถึงเนื้อสี มีความนูนเป็นแบบ 3 มิติ ทำให้งานดูมีราคาเพิ่มขึ้น สามารถสกรีนสีนูนร่วมกันกับงานประเภทสีน้ำหรือสีพลาสติซอลได้

1.5.สกรีนสีจม

สีสกรีนเสื้อแบบสีจม คุณสมบัติของสีสกรีนประเภทนี้ เนื้อสีจะมีความละเอียดสามารถซึมลงไปถึงเส้นใยผ้าและเนื้อสีจะมีความโปร่งใส เมื่อนำไปสกรีนลงบนเสื้อยืดลวดลายสกรีนจะให้ผิวสัมผัสที่เรียบจนแทบเป็น เนื้อเดียวกับเสื้อ

1.6.สกรีนแบบสีลอย

สีสกรีนเสื้อแบบสีลอย คุณสมบัติของสีลอยคือ เนื้อสีจะมีความละเอียดน้อยกว่าสีจม ทำให้เนื้อสีเกาะติดอยู่บนเส้นใยของผ้า เมื่อสกรีนลงเสื้อผิวสัมผัสจะให้ความรู้สึกถึงลวดลายที่มีความหนาขึ้นมาจาก เนื้อผ้า

1.7.สกรีนแบบสียาง

สีสกรีนเสื้อแบบสียาง สียางจะเหมาะกับการลงผ้าทุกสี ทั้งสีอ่อนและสีเข้ม สียางจะมีเนื้อสี ทำให้งานสีกรีนดูมีราคา แต่สียางเมือถูกสกรีน ลงบนผ้าแล้วจะสัมผัสได้ถึงชั้นของสีที่หนา ทำให้ระบายความร้อนได้ไม่ดี คุณสมับัติของสียางเนื้อสีจะมีความ ยืดหยุ่นสูงและมีความเงา ให้สีที่สด เมื่อสกรีนลงบนเนื้อผ้า เนื้อสีจะไปจับอยู่บนเส้นใยเช่นเดียวกับสีลอย ผิวสัมผัสจะมีชั้นความหนา(บาง)ของลายสกรีน และเมื่อลองดึงเนื้อผ้าเพื่อยืดลายสกรีนออก เนื้อสีจะยืดออกตามเนื้อผ้าเสมือนมีความยืดหยุ่นเป็นเนื้อเดียวกัน

1.8. สกรีนฟอยล์

การสกรีนฟอยล์ เป็นงานแนวแฟชั่นสวยงาม เป็นการสกรีนกาวลงบนเสื้อแล้ว รีดร้อนแผ่นฟอยล์ทับ งานจะเงาและดูมีราคา สามารถสกรีนฟอยล์ร่วมกันงานประเภทสีน้ำ หรือสี plastisol ได้

ข้อดีของระบบซิลค์สกรีน (Silk Screen)

ข้อเสียของระบบซิลค์สกรีน (Silk Screen)

2.ระบบดิจิตอลแบบ DTG (Direct To Garment)

Intro:: เป็นการสกรีนโดยใช้เครื่องพิมพ์เฉพาะ พิมพ์หมึกลงบนเสื้อโดยตรง เหมาะกับ งานไม่จำกัดจำนวน / ลายยาก / สีเยอะ กราฟฟิก / ทำ 1 ตัว เหมาะมาก

DTG (Direct To Garment) คือ กระบวนที่ใช้หลักการนำหมึก Pigment มาสกรีนลงบนเสื้อโดยตรง ด้วยเครื่องพิมพ์ผ้าโดยเฉพาะ หลักการการทำงาน นำเสื้อไปวางบนแท่นพิมพ์แล้วสั่งพิมพ์ จากนั้นนำมาอบสีให้แห้ง

งานพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดิจิตอล (Digital Printing) แบบ DTG (Direct To Garment) เป็นระบบการสกรีนด้วยขั้นตอนที่คล้ายกับการพิมพ์กระดาษเพียงแต่เปลี่ยนจากกระดาษเป็นเสื้อเท่านั้นเอง ด้วยการทางานของเครื่องพิมพ์ดิจิตอลทาให้เหมาะกับงานพิมพ์ที่มีรายละเอียด ให้สีสันคมชัด รายละเอียดสูงถึง 1200 dpi (Silk Screen ปกติ 120 dpi) ซึ่งกระบวนการพิมพ์ผ้าด้วยเครื่องพิมพ์ดิจิตอลปัจจุบันมีทั้งที่ใช้ในโรงงาน อุตสาหกรรมและใช้พิมพ์เสื้อสำเร็จรูป ซึ่งการพิมพ์โดยด้วยเครื่องดิจิตอลจำเป็นต้องนำผ้าไปผ่านกระบวนการ Pre-Treat ก่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการพิมพ์ และต้องมีการอบเคลือบสีหลังจากการพิมพ์ (finishing)เพื่อให้หมึกพิมพ์ติดทนบนเนื้อผ้า

ข้อดีของระบบดิจิตอลแบบ DTG

ข้อด้อยของระบบดิจิตอลแบบ DTG

3.ระบบรีดร้อน (Heat Transfer)

ระบบรีดร้อน (Heat Transfer) จะเป็นการสกรีนโดยใช้ระบบการพิมพ์ลวดลายด้วยเครื่องพิมพ์ Ink Jet หรือ Laser ลงบนกระดาษพิเศษที่เรียกว่า Transfer paper

แล้วนำไปกดด้วยเครื่องรีดความร้อนเพื่อให้หมึกระเหิดย้อมติดไปบนเสื้อโดยมีแผ่นฟิลม์บนกระดาษเป็นตัวเคลือบยึดเกาะลวดลายกับตัวเสื้ออีกชั้นนึง

ข้อดีของระบบรีดร้อน (Heat Transfer)

ข้อด้อยของระบบรีดร้อน (Heat Transfer)

3.1. การสกรีนแบบซับลิเมชั่น (Dye-Sublimation)

Intro:: เป็นการสกรีนที่เหมาะกับ งานทุกจำนวน / ลายเยอะ / สีเยอะ กราฟฟิก / สกรีนได้เฉพาะเสื้อสีอ่อน

Sublimation คือ การพิมพ์ภาพลงบนกระดาษด้วยน้ำหมึก Sublimation แล้วน้ำมารีดร้อนลงบนเสื้อโดยใช้เครื่องรีดร้อน (Heat Press) กดทับเพื่อถ่ายเทน้ำหมึกที่อยู่บนกระดาษลงไปในเนื้อผ้า ดังนั้นเสื้อที่สกรีนด้วยวิธีนี้จึงสามารถซักได้เป็นสิบๆครั้งโดยที่สีไม่หลุดล่อน และสามารถใช้เตารีดรีดลงบนรูปภาพที่สกรีนได้โดยตรงโดยไม่ติดเตารีด

Sublimation เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด กระบวนการสกรีนเริ่มโดยการสั่งงานพิมพ์ลงบนกระดาษ Sublimation จากนั้นนำกระดาษที่พิมพ์ลายสกรีนไปวางบนเสื้อแล้วรีดด้วยเตารีด หรือเครื่องรีดร้อน เนื่องจากความร้อน หมึกที่อยู่บนกระดาษจะระเหิดไปเกาะบนเสื้อ

การพิมพ์แบบ Sublimation จะติดได้ดีบนเนื้อผ้าที่มีส่วนผสมของใยสังเคราะห์ (Polyester) เช่น TK, TC, ชีฟอง, ซาติน, นาโน, สเปนแดกซ์ และอื่นๆ แต่จะไม่สามารถใช้ได้กับผ้าที่เป็นใยธรรมชาติ หรือ Cotton 100% ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาผ้าที่ผสมใยสังเคราะห์ต่างๆให้ผู้บริโภคสวมใส่สบายมากยิ่งขึ้นเหมือนสวมใส่ผ้าใยธรรมชาติ แต่ต้นทุนถูกลง งาน Sublimationจึงเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

จุดเด่นของ Sublimation

จุดด้อยของ Sublimation

3.2.การสกรีนเสื้อ Flex Transfer (Poly Flex Transfer)

Intro:: เป็นการสกรีนที่เหมาะกับงานทุกจำนวน / สีเดียว / สกรีนได้ทุกสี / 1 ตัวเหมาะมาก

เป็นการสกรีนโดย การทำลวดลายในคอมพิวเตอร์ แล้วใช้เครื่องตัดสติกเกอร์ตัด แผ่น Flex เหมาะกับงานสกรีนตัวอักษรชื่อ หรือตัวเลข สกรีนได้ทั้งเสื้อยืด และเสื้อกีฬา แผ่น Flex คล้ายๆแผ่นสติ๊กเกอร์ มีสีเดียวอาจเป็นสีดำ สีทอง หรือสีเงิน แล้วใช้เครื่องรีดอัดความร้อนเพื่อให้แผ่น Flex ละลายไปติดลงบนเสื้อ

โพลีเฟล็กซ์ (Poly Flex) อาศัยกาวเป็นตัวยึดเกาะ โดยการพิมพ์ลงบนกระดาษหรือฟิล์มโดยมีกาวเคลือบ ก่อนจะนำไปรีดต้องแกะด้านกาวออกก่อนเหมือนแกะสติกเกอร์ เมื่อนำไปรีดร้อนกาวท่ี่อยู่บนกระดาษ ส่วนกระดาษที่ใช้จะแตกต่างกันเพราะมันจะเคลือบกาวไว้เมื่อโดนความร้อนจากเครื่องรีด กระดาษนั้นจะติดกับเสื้อนั่นเอง เหมือนกับเฟล็กติดเสื้อฟุตบอล

เมื่อนำไปรีดความร้อนกาวจะเป็นตัวยึดเกาะระหว่างสีกับเนื้อผ้า ซึ่งการพิมพ์โดยวิธีนี้ถูกนำไปใช้ในหลายประเภทงานพิมพ์เนื่องจากหมึกพิมพ์ สามารถใช้ได้กับหลากหลายชนิดงานพิมพ์ เช่น งานพิมพ์ออฟเซต , งานพิมพ์กราเวียร์, งานพิมพ์สกรีน และ งานพิมพ์อิงค์เจ็ต ซึ่งแต่ล่ะประเภทงานก็มีความแตกในเรื่องของความละเอียดความคมชัดของงานและ ปริมาณที่จะพิมพ์ โดยในงานพิมพ์อิงค์เจ็ตจะใช้กระดาษทรานเฟอร์ซึ่งเป็นกระดาษชนิดพิเศษที่มี การเคลือบกาว แล้วใช้หมึกพิมพ์อิงค์เจ็ทธรรมดาหรือหมึกกันน้ำ(ดูราไบท์)พิมพ์ลงบนกระดาษ ทรานเฟอร์ด้วยเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ท แล้วจึงนำไปรีดด้วยเครื่องรีดความร้อน กาวจะเป็นตัวยึดเกาะระหว่างหมึกพิมพ์กับเส้นใยของผ้า ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะกับผ้าการพิมพ์ลงบนผ้า cotton 100 %

“Sublimation กับ Flex Transfer ” ซึ่งจริงๆ แล้วมันแตกต่างกัน Heat transfer แปลตามชื่อก็หมายถึงการแลกเปลี่ยนความร้อน แต่ในงานสกรีนคือ การทำให้สีติดโดยใช้การแลกเปลี่ยนความร้อน ซึ่งยังแตกย่อยอีกหลายกระบวนการ แต่ที่นิยมในไทยจะเป็นการพิมพ์ลงกระดาษที่มีกาวเคลือบไว้ด้านหลัง

โพลีเฟล็กซ์ ทรานเฟอร์ (Poly Flex Tranfer)

Poly Flex คือ แผ่นยางรีดหรือ PVC มีองค์ประกอบเดียวกันกับพลาสติกซึ่งเมื่อถูกความร้อนสูง จะหลอมละลาย และเมื่อนำไปอยู่ภายใต้ภาวะแรงกดที่เหมาะสมบนเนื้อผ้าเนื้อยางบางที่เป็นผิวที่สัมผัสอยู่กับเส้นใยผ้าก็จะหลอมละลายยึดติดไปบนเส้นใยผ้า

ผิวสัมผัสด้าน หากใช้ยางรีดที่หนาผิวสัมผัสก็จะนูนมีน้ำหนักไม่เรียบเนียนไปกับผิวของเสื้อผ้า ในเรื่องการทนต่อการซักล้างถือว่าอยู่ในระดับดีเยี่ยม

ข้อจำกัด โพลีเฟล็กซ์ จะมีสีสัน ที่ตายตัว จะสามารถพิมพ์ได้เป็นสีแบบ solid color ตามสีของโพลีเฟล็กซ์ที่มี และไม่เหมาะกับงานที่มีลวดลายละเอียด หรือมีลวดลายซับซ้อน เนื่องจากความยุ่งยากในการทำไดคัท และการสกรีน

วิธีการนำมาใช้งาน

สามารถตัดตัดด้วยคัตเตอร์ หรือเครื่องตัดสติกเกอร์เป็นตัวอักษร ซึ่งการสกรีนแบบทรานเฟอร์ด้วยวิธีนี้จะเหมาะกับการงานสกรีนตัวอักษรลงบนเสื้อ หรือลายกราฟิกที่มีขนาดใหญ่ ๆ ไม่ยากเกินไปสำหรับการไดคัท แตกต่างกับประเภทงานแบบการพิมพ์ภาพลงเสื้อด้วยเครื่องพิมพ์แล้วนำไปกดหรือทรานเฟอร์ด้วยความร้อนซึ่งวิธีนี้จะเหมาะกับงานภาพถ่ายหรืองานกราฟิกไม่จำกัดสีเสียมากกว่า

ชนิดของแผ่นโพลีเฟล็กซ์ (Poly Flex)

จุดเด่นของโพลีเฟล็กซ์ (Poly Flex)

จุดด้อยของโพลีเฟล็กซ์ (Poly Flex)

Exit mobile version